การสร้าง e-book (ต่อ)

การสร้าง E-Book เพื่อนำเสนอ การสร้าง E-Book เพื่อนำเสนอ มีความสำคัญต่อการรับรู้ของผู้ชม จึงต้องมีการเลือกเรื่อง กำหนดจุดมุ่งหมาย กำหนดประเด็นความสำคัญ วางโครงเรื่อง เพื่อให้สื่อนำเสนอนี้น่าสนใจและมีประสิทธิภาพ อภิรัช ศรีฟ้าวัฒนา (2549:8) กล่าวถึงการสร้าง E-Book เพื่อนำเสนอมี 4 ขั้นตอน คือการเลือกเรื่อง การกำหนด จุดมุ่งหมาย การกำหนดประเด็นปัญหา และการวางโครงเรื่อง ดังต่อไปนี้ 1. การเลือกเรื่อง - เลือกเรื่องที่ตนเองสนใจ เป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป ทันสมัย ทันเหตุการณ์ - เลือกเรื่องที่มีความรู้ มีประสบการณ์ ตลอดจนเน้นเรื่องที่ต้องการเสนอความคิดผู้เรียน - เป็นเรื่องที่สามารถหาแหล่งค้นคว้าได้ - ไม่ควรเลือกเรื่องที่ยาว 2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย - กำหนดให้ชัดเจนว่าเขียนเพื่ออะไร เช่น ให้ความรู้เสนอความเห็น โน้มน้าวใจ ให้แนวคิดในการดำเนินชีวิต เขียนให้ใครอ่าน เช่น กลุ่ม มวลชน กลุ่มผู้มีการศึกษาสูง เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ เป็นต้น 3. การกำหนดประเด็นสำคัญ - กำหนดว่าเรื่องที่จะนำเสนอนั้นให้แนวคิดที่สำคัญ หรือมีแก่นเรื่องอะไรให้แก่ผู้อ่าน เพื่อที่จะได้นำเสนอเนื้อหา ถ่ายทอดถ้อยคำประโยคต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่แก่นเรื่องนั้นได้ 4. การวางโครงเรื่อง - กำหนดแนวทางการเรียนว่าจำนำเสนอส่วนสำคัญแยกเป็นประเด็น ประเด็นไหนมีอะไรบ้าง การวางโครงเรื่องช่วยให้เขียนเนื้อเรื่องได้ ไม่สับสน ไม่ซ้ำซาก และตรงประเด็น สราญ ปริสุทธิกุล (2548:10) กล่าวถึงหลักการใช้สื่อต่าง ๆ ในการออกแบบต้องคำนึงถึงตัวอักษร ภาษาและเสียง ดังนี้ 1. ตัวอักษร ขนาดของตัวอักษรควรคำนึงถึงระดับของผู้เรียน เช่น ผู้เรียนที่อยู่ในระดับประถมศึกษาควรใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่กว่าผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา และในจอภาพไม่ควรให้ตัวอักษรหนาแน่นจนเกินไปเพราะจะทำให้ผู้เรียนรู้สึกอึดอัดไม่สบายตา สีของตัวอัการควรใช้สีที่ตัดกัน เพื่อความชัดเจนของการอ่าน เช่น อักษรสีขาว หรือสีเหลือง การใช้สีพื้นหลังควรเป็นสีที่เข้มกว่า เพราะสีที่เข้มกว่า ช่วยลดความสว่างของจอภาพทำให้ผุ้เรียนสบายตา 2. ภาพ ควรเป็นภาพสีเหมือนจริง หรือสีที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด ภาพเคลื่อนไหวจะกระตุ้นความสนใจให้กับผุ้เรียนมากกว่าภาพนิ่ง 3. เสียง เสียงบรรยาย และเสียงพูด ควรเลือกให้เหมาะสมกับเนื้อหา และระดับของผู้เรียน การออกเสียงควรชัดเจนถูกต้อง ควรออกแบบให้ผู้เรียนสามารถปรับความดัง ค่อยของเสียงและปิดในกรณีที่ไม่ต้องการฟัง เสียงเอฟเฟ็กต์ ควรมีควยามสม่ำเสมอ เช่น การใช้เสียงในกรณีตอบถูกควรใช้เสียงสูง และเร้าใจ หรือตอบผิดควรใช้เสียงสั้นและต่ำ เสียงดนตรีประกอบ กรณีใช้เสียงดนตรีเป็นพื้นหลังไม่ควรให้เสียงดังกว่าเสียงบรรยาย ซึ่งจะไปรบกวนการเรียนรู้ของผู้เรียน

ข่าวการศึกษา

สถิติเว็บไซต์